วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อิบมวลเบาไทยคอน กับการผลิต

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอน
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากอิฐประเภทนี้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมานานกว่า 75 ปี จัดเป็นอิฐประเภท Autoclave Aerated Concrete (AAC) มีคุณสมบัติเด่นในด้านการเพิ่มความคงทนถาวรของโครงสร้าง ด้านการประหยัดพลังงาน และกันความร้อน อิฐมวลเบาไทคอนจึงจัดได้ว่าเป็นอิฐก่อสร้าง ที่มีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง (Today’s green product for tomorrow’s sustainability)

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนมีด้วยกันอยู่ 7 ขั้นตอน ดังมีรายละเอียดในภาพ




ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมส่วนผสมทรายกับน้ำ

ในขั้นตอนนี้ทรายที่คัดสรรคุณภาพแล้วจะถูกผสมกับยิบซั่มในอัตราส่วนพอเหมาะ ถูกนำไปบดให้ละเอียดด้วยหม้อบดทรายชนิดเปียก (Wet ball mill) โดยใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในการบดละเอียด

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมส่วนผสมระหว่างทรายกับน้ำที่มีค่าความเข้มข้นคงที่
ส่วนผสมระหว่างทรายละเอียดที่ถูกบดแล้วกับน้ำจะถูกลำเลียงเอาไปเก็บไว้ในถังทราย ในขั้นตอนนี้ความเข้มข้นของส่วนประกอบจะถูกควบคุมให้ได้คงที่ตลอดเวลา (Constant sand slurry density) พร้อมกับมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 การผสมวัตถุดิบ
ปูนขาวและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ถูกลำเลียงมาชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก (weight bin) และถูกลำเลียงไปใส่ในถังผสม ซึ่งจะถูกผสมต่อไปโดยส่วนผสม ระหว่างทรายกับน้ำ และรีเทิร์น (รีเทิร์นเป็นส่วนผสมที่เกิดจากขบวนการตัดในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เนื่องจากยังมีคุณสมบัติด้านการให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์เหลืออยู่ และเนื้อทรายก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีเทิร์นจะถูกควบคุมให้มีความเข้มข้นคงที่ตลอดเวลา มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำกลับมาใช้ผสมใหม่) และส่วนผสมระหว่าง อลูมิเนียมกับน้ำในที่สุด ขบวนการผสมจะถูกควบคุมอุณหภูมิในถังผสมไม่ให้เกินขีดจำกัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ในภายหลังได้

ขั้นตอนที่ 4 การเทส่วนผสมจากถังผสมลงในโมลด์
ส่วนผสมวัตถุดิบทั้ง 5 อย่างดังกล่าว จะถูกเทลงในโมลด์ และถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในห้องบ่มที่มีอุณหภูมิประมาณ 40 ̊C ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในโมลด์ คือ ส่วนผสมจะเริ่มแข็งตัวขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ในขณะเดียวกันจะเกิดการฟูตัวขึ้นเหมือนการอบเค้ก การฟูตัวเกิดจากปฏิกิริยา ระหว่างด่างกับอลูมิเนียมไห้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เรียกว่ากรีนเค้ก (green cake) ฟูเต็มขนาดโมลด์ และเมื่อได้ความแข็งพอเหมาะ จะถูกนำไปตัดได้ในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 การตัด
กรีนเค้กที่ได้หลังจากถูกนำไปถอดโมลด์ออกแล้ว ถูกนำไปตัดด้านข้างทั้ง 4 ด้าน และตัดขนาดของอิฐตามที่ต้องการจากลูกค้าได้เป็นอิฐเขียวไทคอน

ขั้นตอนที่ 6 การทำให้อิฐเขียวแข็งตัว
อิฐเขียวไทคอนที่ได้จากการตัดถูกนำเข้าไปอบในหม้ออบไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 200 ̊C ความดัน 15 บาร์ เป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ในหม้ออบไอน้ำนี้ อิฐเขียวจะแปรรูปเป็นอิฐมวลเบาไทคอนสีขาว จากปฏิกิริยาระหว่างด่างกับทราย เกิดเป็นสารผลึกสีขาว ซึ่งทางเคมีว่าแคลเซียมซิลิเกรต (calcium silicate) ขึ้น

ขั้นตอนที่ 7 การแยกและแพ็ค
อิฐมวลเบาไทคอนที่ผ่านการอบแล้วจะถูกลำเลียงออกมาแยกออกเป็นก้อนๆ และนำไปแพ็คบนพาเลท พร้อมรัดสาย ก่อนนำออกจากโรงงาน ส่งมอบต่อให้ฝ่ายคลังสินค้านำกระจายออกสู่ตลาดต่อไป
อิฐมวลเบาไทคอนถูกผลิตจาก know-how เฉพาะของบริษัท ทำให้ได้อิฐมวลเบาที่มีคุณภาพสูงเกรด G4-G6 ตามมาตรฐานเยอรมันนี เป็นอิฐมวลเบาที่มีการแตกหักเสียหายต่ำ ความแข็งแรงสูง รับแรงกดกระแทกได้สูง และช่วยแก้ปัญหางานก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาได้อย่างแท้จริง

......................................................................................................................
ขอบคุณที่มา :บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น