วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประโยชน์ของอิฐมวลเบา

ประโยชน์ของอิฐมวลเบา


อิฐมวลเบากับเจ้าของโครงการ (Developer)


งานเสร็จเร็วกว่า ทำให้ขายสินค้า (บ้าน) ได้เร็วกว่า เงินหมุนเวียนเร็วกว่า
เป็นสินค้าที่มีความนิยมแพร่หลาย ทำให้โครงการที่ทำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มจุดขาย
ลดค่าใช้จ่ายก่อสร้างลง เนื่องจากน้ำหนักโครงสร้างลดลง

อิฐมวลเบากับผู้รับเหมา (Contractor)


ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลง เนื่องจากใช้ Joint น้อยลงกว่า 2.5%
เวลาก่อสร้างเร็วขึ้นกว่า 30% จากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
น้ำหนักเบากว่า ก่อสร้างได้เร็วกว่า ใช้ช่างก่อจำนวนน้อยลง
แข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ
มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามความจำเป็นหน้างาน
ง่ายต่อการก่อสร้าง มีมิติแน่นอน ลดการใช้ปูนฉาบ และปูนก่อลง

อิฐมวลเบากับเจ้าของบ้าน (Home owner)

อยู่เย็นเป็นสุข เพราะอิฐไทคอน ช่วยลดและดุดซึมเสียง กันความร้อน ทันสมัย ไม่ติดไฟ
ลดค่าไฟฟ้าลงกว่า 30%
ปลวกไม่กิน
ต้นทุนการซ่อมแซมต่ำ

อิฐมวลเบากับผู้แทนจำหน่าย (Agent)

สินค้าติดตลาด ง่ายต่อการขาย และทำกำไรได้ง่าย
น้ำหนักเบา ช่วยลดค่าใช้จ่ายขนส่งในการจัดจำหน่ายสู่ลูกค้า

อิฐมวลเบากับสิ่งแวดล้อม (Environment)

การผลิตไม่มีสารเป็นพิษเจือปน
ไม่ปล่อยก๊าซออกสู่บรรยากาศจากขบวนการผลิต
ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลงกว่าครึ่ง เมื่อเทียบกับการผลิตอิฐมอญเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดก๊าซเรือนกระจก
Joint ที่ลดลงทำให้ใช้ปูนซิเมนต์ในการก่อน้อยลง ช่วยลดปัญหาก๊าซ CO2 ในบรรยากาศ






วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อิบมวลเบาไทยคอน กับการผลิต

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอน
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากอิฐประเภทนี้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมานานกว่า 75 ปี จัดเป็นอิฐประเภท Autoclave Aerated Concrete (AAC) มีคุณสมบัติเด่นในด้านการเพิ่มความคงทนถาวรของโครงสร้าง ด้านการประหยัดพลังงาน และกันความร้อน อิฐมวลเบาไทคอนจึงจัดได้ว่าเป็นอิฐก่อสร้าง ที่มีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง (Today’s green product for tomorrow’s sustainability)

กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนมีด้วยกันอยู่ 7 ขั้นตอน ดังมีรายละเอียดในภาพ




ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมส่วนผสมทรายกับน้ำ

ในขั้นตอนนี้ทรายที่คัดสรรคุณภาพแล้วจะถูกผสมกับยิบซั่มในอัตราส่วนพอเหมาะ ถูกนำไปบดให้ละเอียดด้วยหม้อบดทรายชนิดเปียก (Wet ball mill) โดยใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในการบดละเอียด

ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมส่วนผสมระหว่างทรายกับน้ำที่มีค่าความเข้มข้นคงที่
ส่วนผสมระหว่างทรายละเอียดที่ถูกบดแล้วกับน้ำจะถูกลำเลียงเอาไปเก็บไว้ในถังทราย ในขั้นตอนนี้ความเข้มข้นของส่วนประกอบจะถูกควบคุมให้ได้คงที่ตลอดเวลา (Constant sand slurry density) พร้อมกับมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 การผสมวัตถุดิบ
ปูนขาวและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ถูกลำเลียงมาชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก (weight bin) และถูกลำเลียงไปใส่ในถังผสม ซึ่งจะถูกผสมต่อไปโดยส่วนผสม ระหว่างทรายกับน้ำ และรีเทิร์น (รีเทิร์นเป็นส่วนผสมที่เกิดจากขบวนการตัดในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เนื่องจากยังมีคุณสมบัติด้านการให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์เหลืออยู่ และเนื้อทรายก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีเทิร์นจะถูกควบคุมให้มีความเข้มข้นคงที่ตลอดเวลา มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำกลับมาใช้ผสมใหม่) และส่วนผสมระหว่าง อลูมิเนียมกับน้ำในที่สุด ขบวนการผสมจะถูกควบคุมอุณหภูมิในถังผสมไม่ให้เกินขีดจำกัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ในภายหลังได้

ขั้นตอนที่ 4 การเทส่วนผสมจากถังผสมลงในโมลด์
ส่วนผสมวัตถุดิบทั้ง 5 อย่างดังกล่าว จะถูกเทลงในโมลด์ และถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในห้องบ่มที่มีอุณหภูมิประมาณ 40 ̊C ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในโมลด์ คือ ส่วนผสมจะเริ่มแข็งตัวขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ในขณะเดียวกันจะเกิดการฟูตัวขึ้นเหมือนการอบเค้ก การฟูตัวเกิดจากปฏิกิริยา ระหว่างด่างกับอลูมิเนียมไห้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เรียกว่ากรีนเค้ก (green cake) ฟูเต็มขนาดโมลด์ และเมื่อได้ความแข็งพอเหมาะ จะถูกนำไปตัดได้ในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 5 การตัด
กรีนเค้กที่ได้หลังจากถูกนำไปถอดโมลด์ออกแล้ว ถูกนำไปตัดด้านข้างทั้ง 4 ด้าน และตัดขนาดของอิฐตามที่ต้องการจากลูกค้าได้เป็นอิฐเขียวไทคอน

ขั้นตอนที่ 6 การทำให้อิฐเขียวแข็งตัว
อิฐเขียวไทคอนที่ได้จากการตัดถูกนำเข้าไปอบในหม้ออบไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 200 ̊C ความดัน 15 บาร์ เป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ในหม้ออบไอน้ำนี้ อิฐเขียวจะแปรรูปเป็นอิฐมวลเบาไทคอนสีขาว จากปฏิกิริยาระหว่างด่างกับทราย เกิดเป็นสารผลึกสีขาว ซึ่งทางเคมีว่าแคลเซียมซิลิเกรต (calcium silicate) ขึ้น

ขั้นตอนที่ 7 การแยกและแพ็ค
อิฐมวลเบาไทคอนที่ผ่านการอบแล้วจะถูกลำเลียงออกมาแยกออกเป็นก้อนๆ และนำไปแพ็คบนพาเลท พร้อมรัดสาย ก่อนนำออกจากโรงงาน ส่งมอบต่อให้ฝ่ายคลังสินค้านำกระจายออกสู่ตลาดต่อไป
อิฐมวลเบาไทคอนถูกผลิตจาก know-how เฉพาะของบริษัท ทำให้ได้อิฐมวลเบาที่มีคุณภาพสูงเกรด G4-G6 ตามมาตรฐานเยอรมันนี เป็นอิฐมวลเบาที่มีการแตกหักเสียหายต่ำ ความแข็งแรงสูง รับแรงกดกระแทกได้สูง และช่วยแก้ปัญหางานก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาได้อย่างแท้จริง

......................................................................................................................
ขอบคุณที่มา :บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด

เกร็ดความรู้อิฐมวลเบาไทยคอน



เกร็ดความรู้อิฐมวลเบาไทยคอน


ถาม :
วัตถุดิบตัวหนึ่งในการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนคือยิปซั่ม อยากทราบว่ายิปซั่มใส่ไปเพื่ออะไร? และปลวกกินยิปซั่มหรือไม่?
ตอบ :
วัตถุดิบที่เป็นยิปซั่มเป็นตัวหน่วงในการทำปฏิกิริยาในช่วงแรกไม่ให้ปูนซีเมนต์เซ็ทตัวเร็วจนเกินไปในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เซ็ทตัวเมื่อมีความร้อนจากปูนขาวหลังจากเค้กฟูตัวแล้ว และปลวกจะไม่กินเพราะยิปซั่มเกิดการทำปฏิกิริยาเรียบร้อยแล้ว

ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนจะถูกออกซิไดซ์หรือไม่ถ้าใช้ไปนานๆ?
ตอบ :
เมื่อเราใช้ไปนานๆอิฐมวลเบาไทคอน จะไม่ถูกออกซิไดซ์เพราะเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีในตัววัสดุเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วในกระบวนการผลิต และมีอายุการใช้งานมากกว่า50ปี

ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนได้รับตราสินค้าฉลากเขียวหรือไม่?
ตอบ :
สินค้าที่ได้รับรองเรื่องฉลากเขียวต้องเป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบและกระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนถึงการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรอง

ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนซูเปอร์โปรและอิฐมวลเบาไทคอนสปีดแตกต่างกันอย่างไร? และมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ :
มีความแตกต่างที่ขนาดความกว้าง อิฐไทคอนซูเปอร์โปรมีขนาดกว้าง 20 ยาว 60 เซนติเมตร แต่อิฐ ไทคอนสปีดจะมีขนาดกว้าง 25-30 ยาว 60 เซนติเมตร ถ้าเลือกใช้อิฐไทคอนสปีดการทำงานก่อจะก่อได้เร็วกว่าประหยัดปูนก่อ ประหยัดค่าแรง เพราะช่างจะทำงานก่อได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาการทำงานต่อวัน

ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนแตกต่างกว่าอิฐมวลเบายี่ห้ออื่นในตลาดอย่างไร?
ตอบ :
อิฐมวลเบาไทคอนเป็นอิฐมวลเบาคุณภาพมาตรฐานG4 เป็นมาตรฐานสูงสุดที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย และเป็นอิฐมวลเบาระบบอบไอน้ำแรงดันที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม อิฐมวลเบาไทคอนมีความแข็งแรงสูง แตกหักเสียหายน้อยระหว่างการขนส่งหรือระหว่างลำเลียงไปใช้งาน ยึดเกาะตะปูได้เหนียวแน่นกว่า

ถาม :
ปริมาณการใช้อิฐมวลเบาไทคอนคำนวณได้อย่างไร?
ตอบ :
ในการคำนวณหาพื้นที่ของผนังต้องใช้แบบแปลน, รูปด้าน, รูปตัด, รายละเอียดประตูหน้าต่างประกอบในการคำนวณหาพื้นที่ แบบแปลนเพื่อดูสัญลักษณ์กำหนดชนิดของผนังและความกว้างของผนัง แบบรูปตัดเพื่อดูความสูงของผนังในแต่ละชั้นของอาคาร แบบรูปด้านเพื่อดูว่าผนังมีประตูหน้าต่างแบบไหนใช้ตัวเลขความกว้างคูณด้วยความสูงของผนังจะออกมาเป็นพื้นที่ตารางเมตร ถ้าผนังมีประตูหรือหน้าต่างดูแบบรายละเอียดประตูหน้าต่างคำนวณพื้นที่ประตูหน้าต่างแล้วนำมาลบออกจากพื้นที่ผนังทั้งหมดจะได้พื้นที่ผนังจริงถ้าต้องการคิดเป็นจำนวนก้อนอิฐให้นำพื้นที่เป็นตารางเมตร คูณด้วย 8.33 จะได้เป็นจำนวนก้อนอิฐมวลเบาไทคอนซูเปอร์โปร

ถาม :
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ก่อฉาบอิฐมวลเบาไทคอนมีอะไรบ้าง? หาซื้อได้ที่ไหน?
ตอบ :
เครื่องมือสำหรับก่ออิฐมวลเบาไทคอนมีเกรียงก่อ, หัวปั่นปูน, เลื่อยคาร์ไบด์, ค้อนยาว, เหล็กขูดเซาะร่อง, เกรียงฟันปลา, เหล็กเมทัลสแต๊ป ส่วนเครื่องมือฉาบมีกระบะถือปูน, เกรียงไม้, สามเหลี่ยมปาดปูน, แปรงสลัดน้ำ, ไม้กวาดดอกหญ้า เครื่องมือฉาบหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั่วไป


ถาม :
หาซื้ออิฐมวลเบาไทคอนได้ที่ไหน? ราคาเท่าไหร่?
ตอบ :
หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างชั้นนำ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอิฐมวลเบาไทคอนที่อยู่ใกล้ในเขตพื้นที่ของโครงการนั้นๆ หรือโทร.02-988-5559 ซึ่งสามารถสอบถามได้จากตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ให้คำแนะนำการขายของบริษัทฯ ส่วนเรื่องราคาขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน ระยะทางการจัดส่ง โปรโมชั่นในช่วงนั้น และเงื่อนไขการชำระเงิน

ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนถ้า ก่อแล้วฉาบด้านเดียวกันน้ำได้หรือไม่?
ตอบ :
เหมือนอิฐก่อสร้างประเภทอื่น ผนังอิฐมวลเบาไทคอนถ้าฉาบด้านเดียวจะไม่สามารถกันความชื้นและน้ำได้เนื่องจากเนื้อของวัสดุเป็นลักษณะพรุนเมื่อมีน้ำหรือความชื้นสัมผัสโดยตรงจะดูดเก็บความชื้นไว้ในตัวผนัง ทำให้มีผลกระทบเรื่องความชื้นกับผนังที่ฉาบ

ถาม :
อิฐมอญกับอิฐมวลเบาไทคอนวัสดุตัวไหนยึดเกาะตะปูได้ดีกว่ากัน? การเจาะรูแขวนรูปภาพทำอย่างไรจึงจะถูกวิธี?
ตอบ :
การยึดเกาะตะปูที่ตอกลงผนังอิฐมอญจะดีกว่าอิฐมวลเบาไทคอนเพราะผนังอิฐมอญมีความหนาแน่นสูงกว่า แต่ถ้าต้องการจะเจาะแขวนรูปภาพหรือสิ่งของต่างๆนั้นจะมีพลุ๊กสำหรับอิฐมวลเบาไทคอนโดยเฉพาะเป็นพลุ๊กเหล็กFischer FMD เทคนิคการติดตั้งต้องดูว่าน้ำหนักของวัสดุที่จะแขวนมีน้ำหนักเท่าไหร่ต้องใช้พลุ๊กเบอร์อะไร และจำนวนในการเจาะยึดทั้งหมดกี่จุดก็จะสามารถแขวนสิ่งของต่างๆได้

ถาม :
บ้านโดนน้ำท่วมเปลี่ยนวอลเปเปอร์แล้วเกิดเชื้อราขึ้นมา บ้านใช้อิฐมวลเบาในการก่อสร้าง จะมีการป้องกันเชื้อราไม่ให้เกิดขึ้นอีกทำได้อย่างไร?
ตอบ :
ผนังอาคารปูวอลเปเปอร์ที่มีการแช่น้ำเป็นเวลานานๆจะเกิดการพองหลุดร่อนและเป็นเชื้อรา หลังจากน้ำลดต้องทำการซ่อมแซมวอลเปเปอร์ใหม่ การซ่อมแซมให้ซ่อมแซมใหม่ทั้งชั้นอย่าซ่อมแซมเฉพาะบางจุดเพราะสีของวอลเปเปอร์จะไม่เหมือนกันควรลอกกระดาษตัวเก่าออกให้หมดเพื่อเป็นการผึ่งผนังปูนที่อมน้ำไว้ได้คายน้ำให้ระเหยออกมาให้หมดถ้าไม่ลอกออกผนังจะคายความชื้นได้ช้า ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง-2 เดือนจนกว่าความชื้นจะออกหมด โดยมีวิธีการตรวจสอบง่ายๆคือเอาแผ่นพลาสติกใสขนาด 50x50 เซนติเมตร แปะบนผนังและติดเทปกาวโดยรอบ สังเกตดูว่าถ้าไม่เกิดไอน้ำเกาะที่พลาสติกแสดงว่าความชื้นหมดแล้วจึงทำการปูวอลเปเปอร์ใหม่ได้ จะไม่เกิดปัญหาเชื้อราขึ้นอีก หรือทาด้วยสารป้องกันความชื้นก่อนปูวอลเปเปอร์ทับ

ถาม :
ผนังบ้านเป็นอิฐมวลเบา พบว่าสีเกิดการล่อนออกมาตลอด ทาสีทับใหม่อยู่ได้ไม่นานก็เป็นอีก เป็นเพราะอะไร? จะแก้ไขอย่างไร?
ตอบ :
สาเหตุเกิดจากความชื้นหลังการฉาบปูน ก่อให้เกิดปัญหาสีปูดบวมพอง พื้นผิวก่อนทาสีควรมีความชื้นไม่เกิน 17% ซึ่งความชื้นระดับนี้ไม่มีผลต่อฟิล์มสี หากพื้นผนังมีความชื้นสูงเมื่อได้รับความร้อนความชื้นก็จะเคลื่อนตัวระเหยออกจากผนังเป็นเหตุให้ฟิล์มสีปูดบวมพองและหลุดร่อน แก้ไขโดยการลอกฟิล์มสีที่ปูดพองออกให้หมด ล้างทำความสะอาดปล่อยให้พื้นผิวแห้งสนิท ทาน้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่าจำนวน 1 เที่ยวก่อนทาสีทับหน้าตามปกติ ปัญหาสีหลุดร่อนก็จะหมดไป

ถาม :
จำเป็นต้องใช้คานทับหลังในการก่อผนังอิฐมวลเบาหรือไม่?
ตอบ :
ตามมาตรฐานการก่อผนังอิฐมวลเบาที่กำหนดไว้ ผนังสามารถก่อได้สูงสุดที่ 3 เมตรถ้าความสูงของผนังที่ก่อไม่เกิน 3 เมตร ไม่ต้องเทคานทับหลัง แต่ถ้าผนังก่อสูงเกิน 3 เมตร จะต้องทำการเทหล่อคานทับหลังที่ระดับความสูงครึ่งหนึ่งของผนังนั้นเพื่อความแข็งแรง

ถาม :
อิฐมวลเบาเปียกฝนใช้นำมาก่อได้เลยหรือไม่? วิธีการใช้งานที่ถูกวิธีทำอย่างไร?
ตอบ :
สามารถนำอิฐมวลเบาที่เปียกฝนมาใช้งานได้เลย แต่ควรนำอิฐที่เปียกมาก่อในส่วนของผนังภายนอกอาคารและใช้อิฐที่ไม่เปียกฝนก่อผนังภายใน เพราะอิฐที่เปียกฝนจะมีความชื้นสูงถ้าใช้ก่อภายในอาคารอากาศไม่ถ่ายเทความชื้นออก แต่ถ้าใช้ก่อผนังภายนอกเมื่อโดนแสงแดดก็จะช่วยไล่ความชื้นให้ออกเร็วกว่าปกติ

ถาม :
มือใหม่หัดใช้อิฐมวลเบาต้องทำอย่างไร?
ตอบ :
กรุณาติดต่อมาที่บริษัทฯ เรามีช่างเทคนิคที่จะอบรมสาธิตขั้นตอนการทำงานก่อ และงานฉาบให้กับทางช่างเพื่อให้ช่างมือใหม่ได้เข้าใจเทคนิคและขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติตาม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเมื่อเกิดปัญหาหลังการใช้งาน งานก่อฉาบก็จะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

ถาม :
ผนังก่อด้วยอิฐมวลเบามักจะมีรอยร้าวเป็นเพราะอะไร? ป้องกันได้อย่างไร?
ตอบ :
รอยร้าวโดยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับผนังอิฐมวลเบามีสาเหตุ 3 ประเด็นหลักคือ
เกิดจากการก่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ลักษณะการแตกจะแตกเป็นเส้นตรงแนวนอนหรือแนวทแยง เพราะการก่อปูนก่อไม่เต็มหน้าอิฐ เวลาโครงสร้างขยับตัวจึงเกิดรอยแตกร้าวตามรอยต่อ การป้องกันต้องก่อให้ปูนก่อเต็มหน้าอิฐทั้ง 4 ด้าน
เกิดจากการตีน้ำปั่นหน้าปูนเร็วเกินไปทำให้เกิดการแตกลายงาเพราะผิวหน้าของปูนฉาบยังไม่เซ็ทตัวดีการป้องกันต้องรอให้ปูนฉาบเซ็ทตัวจนกดไม่ลงก่อนถึงจะทำการตีน้ำปั่นหน้าปูนได้
เกิดจากการฉาบหนาเกินไป ส่วนใหญ่จะเกิดกับการฉาบผนังภายนอกอาคารเพราะต้องฉาบเผื่องานโครงสร้าง การแตกจะเป็นลักษณะแตกร้าวและร่อน การป้องกันถ้าฉาบหนาเกิน 1.5 เซนติเมตรให้ทำการฉาบ 2 ครั้ง แบ่งฉาบให้ปูนฉาบเซ็ทตัวทีละชั้น การยุบตัวจะน้อยลง ฉาบครั้งแรกทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน และทำการฉาบทับหน้าอีกครั้งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวได้เป็นอย่างดี

ถาม :
การกองเก็บอิฐมวลเบาไทคอนที่ถูกวิธีทำอย่างไร?
ตอบ :
ควรจัดเรียงอิฐมวลเบาไทคอนไว้บนแผงรองรับที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการแตกบิ่นเสียหายที่อาจมีผลต่อการใช้งานและเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ถ้าการกรองเก็บไม่มีแผงรองรับควรปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนวางกองจะเกิดการเสียหายน้อยที่สุด จากน้ำหนักอิฐก้อนบนที่ทับลงมา

...........................................................................................
ขอบคุณที่มา: บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด


วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558