อิฐมวลเบา
อิฐมวลเบามีมากมายหลายประเภท หากมองเพียงภายนอกอาจแทบไม่แตกต่างกันแต่แท้จริงแล้ว อิฐมวลเบาแต่ละแบบใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตต่างกัน ทำให้คุณสมบัติของอิฐมวลเบาแตกต่างกัน ราคาก็แตกต่างกันไปด้วย อิฐมวลเบาโดยทั่วไปอาจแบ่งตามกระบวนการผลิตได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ระบบที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Non – Autoclaved System)
ซึ่งจะแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบากว่ามาทดแทน เช่น ขี้เลื่อย ขี้เถ้า ชานอ้อย หรือเม็ดโฟม ทำให้คอนกรีตมีน้ำหนักที่เบาขึ้น แต่จะมีอายุการใช้งานที่สั้นเสื่อมสภาพได้เร็ว และหากเกิดไฟไหม้ สารเหล่านี้อาจเป็นพิษต่อผู้อยู่อาศัย
ประเภทที 2 ใช้สารเคมี (Circular Lightweight Concrete) เพื่อให้เนื้อคอนกรีตฟู และทิ้งให้แข็งตัว
คอนกรีตประเภทนี้จะมีการหดตัวมากกว่า ทำให้ปูนฉาบแตกร้าวได้ง่าย ไม่ค่อยแข็งแรงคอนกรีตที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงนี้ส่วนใหญ่เนื้อผลิตภัณฑ์มักจะมีสีเป็นสีปูนซีเมนต์
ต่างจากคอนกรีตที่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำภายใต้ความดันสูงซึ่งจะมีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นผลึกสีขาว
2. ระบบอบไอน้ำภายใต้ความดันสูง (Autoclaved System)
ซึ่งแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 Lime Base ใช้ปูนขาว ซึ่งควบคุมคุณภาพได้ยาก มาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
ทำให้คุณภาพคอนกรีตที่ได้ไม่ค่อยสม่ำเสมอ มีการดูดซึมน้ำมากกว่า
ประเภทที่ 2 Cement Base ใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
เป็นระบบที่นอกจากจะช่วยให้คอนกรีต มีคุณภาพได้มาตรฐานสม่ำเสมอแล้ว ยังช่วยให้เกิดการตกผลึก (Calcium Silicate)ในเนื้อคอนกรีตทำให้คอนกรีตมีความแข็งแกร่ง ทนทาน กว่าการผลิตในระบบอื่นมาก
คุณสมบัติของอิฐมวลเบา
อิฐมวลเบาเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีตชนิดใหม่ ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติได้แก่ ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทราย ปูนขาว ยิบซั่ม น้ำ และสารกระจายฟองอากาศส่วนผสมพิเศษในอัตราส่วนที่เป็นสูตรเฉพาะตัว การผลิตส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่าง ประเทศอาทิเช่น เยอรมนี ออสเตรเลีย ฯ ผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาเป็นวัสดุก่อสร้างยุคใหม่ที่มุ่งเน้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้งานทุกด้าน ด้วยคุณสมบัติพิเศษ คือ ตัววัสดุมีน้ำหนักเบา ขนาดก้อนได้มาตรฐานเท่ากันทุกก้อน ทนไฟ ป้องกันความร้อน ป้องกันเสียง ตัดแต่งเข้ารูปง่าย ใช้งานได้เกือบ 100% ไม่มีเศษเป็นอิฐหัก และที่สำคัญคือรวดเร็ว สะอาด ลดระยะเวลาในการก่อสร้างและลดต้นทุนโครงสร้างและมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ดังนี้
1. คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนา 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนักวัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120 กิโลกรัม ในขณะที่อิฐมอญก่อ 2 ชั้น (เว้นช่องว่างตรงกลาง) จะหนัก 180 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของการก่ออิฐมอญจะมากกว่าทำให้ต้องเตรียมโครงสร้างเผื่อกันรับน้ำหนักในส่วนนี้ด้วย ทำให้ต้นทุนโครงสร้างเพิ่มขึ้น
2. การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ตัวช่องว่างตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี และอิฐแถวด้านในไม่สัมผัสความร้อนโดยตรง จึงทำให้คุณสมบัติตรงนี้ของอิฐมอญจะมีความสามารถในการกันความร้อนได้ดีกว่า แต่การเว้นช่องว่างไม่ควรต่ำกว่า 5 เซนติเมตร
3. การกันเสียง ปกติอิฐมวลเบาจะกันเสียงได้ดีกว่าอิฐมอญประมาณ 20% แต่ในกรณีใช้อิฐมอญก่อ 2 ชั้น ช่องว่างตรงกลางจะทำหน้าเป็นฉนวนกันเสียงได้ดีกว่าเกือบ 2 เท่า แต่อิฐมวลเบาจะลดการสะท้อนของเสียงได้ดีกว่าเนื่องจากโครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศเป็นจำนวนมากอยู่ภายในทำให้ดูดซับ เสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์หรือห้องประชุม
4. การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อยและทนไฟที่ 1,100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 4 ชั่วโมงซึ่งนานกว่าอิฐมอญ 2-4 เท่า ทำให้จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้
5. ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน
6.น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี น้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ 2-3 เท่า และเบากว่าคอนกรีต 4-5 เท่า ส่งผลให้ประหยัดค่าก่อสร้างโครงสร้างอาคาร และเสาเข็มลงได้อย่างมาก แต่อาคารยังคงมีความแข็งแรงเท่าเดิมจากโครงสร้างของอิฐมวลเบาที่ประกอบไปด้วยฟองอากาศจำนวนมากทำให้มีน้ำหนักเบาและสามารรับแรงกดได้ดี ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการ ก่อสร้างได้มาก ยกตัวอย่างเช่น ไม่ต้องลงเสาเข็มลึกมากเนื่องจากโครงสร้างเบาและสามารถ ก่อสร้างโดยใช้โครงสร้างที่เล็กลง ทำให้ประหยัดการใช้เหล็กและมีพื้นที่ใช้สอยภายในมากขึ้น
7. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญแล้วยังใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กลงได้ ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มาก กันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญถึง 4-8 เท่า จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก สู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30%
8. ใช้งานง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตที่เป็นมาตรฐานทำให้สินค้าที่ออกมาเท่ากันทุกก้อน ไม่เหมือนกับอิฐมอญที่ยังมีความไม่เป็นมาตรฐานอยู่ทำให้การก่อสร้างโดยใช้อิฐมวลเบาจะใช้เวลาในการก่อและเกิดการสูญเสียน้อยกว่า โดยเฉลี่ยแล้วภายใน 1 วันการก่อผนังโดยใช้อิฐมวลเบาจะได้พื้นที่ 25 ตรมไม่ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง สามารถตัด แต่ง เลื่อย ไส เจาะ ฝังท่อระบบได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่ใช้งานง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป. ขณะที่หากใช้อิฐมอญจะก่อได้เพียง 12 ตรม. นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนฉาบด้วย เนื่องจากสามารถก่อฉาบได้บางกว่าช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้
9.มิติเที่ยงตรง ขนาดมิติเที่ยงตรง แน่นอน ได้ชิ้นงานที่เรียบ สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อ ฉาบ
10. อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต (50 ปี) เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตได้แก่
ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม สารกระจายฟองและเหล็กเส้น จึงมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า อิฐมอญซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ คือ ดิน
........................................................................................................................
วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ประโยชน์ของอิฐมวลเบา
คุณประโยชน์ของอิฐมวลเบา
เจ้าของโครงการ (Developer)
งานเสร็จเร็วกว่า ทำให้ขายสินค้า (บ้าน) ได้เร็วกว่า เงินหมุนเวียนเร็วกว่า
เป็นสินค้าที่มีความนิยมแพร่หลาย ทำให้โครงการที่ทำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มจุดขาย
ลดค่าใช้จ่ายก่อสร้างลง เนื่องจากน้ำหนักโครงสร้างลดลง
ผู้รับเหมา (Contractor)
ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลง เนื่องจากใช้ Joint น้อยลงกว่า 2.5%
เวลาก่อสร้างเร็วขึ้นกว่า 30% จากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
น้ำหนักเบากว่า ก่อสร้างได้เร็วกว่า ใช้ช่างก่อจำนวนน้อยลง
แข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ
มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามความจำเป็นหน้างาน
ง่ายต่อการก่อสร้าง มีมิติแน่นอน ลดการใช้ปูนฉาบ และปูนก่อลง
เจ้าของบ้าน (Home owner)
อยู่เย็นเป็นสุข เพราะอิฐไทคอน ช่วยลดและดุดซึมเสียง กันความร้อน ทันสมัย ไม่ติดไฟ
ลดค่าไฟฟ้าลงกว่า 30%
ปลวกไม่กิน
ต้นทุนการซ่อมแซมต่ำ
ผู้แทนจำหน่าย (Agent)
สินค้าติดตลาด ง่ายต่อการขาย และทำกำไรได้ง่าย
น้ำหนักเบา ช่วยลดค่าใช้จ่ายขนส่งในการจัดจำหน่ายสู่ลูกค้า
สิ่งแวดล้อม (Environment)
การผลิตไม่มีสารเป็นพิษเจือปน
ไม่ปล่อยก๊าซออกสู่บรรยากาศจากขบวนการผลิต
ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลงกว่าครึ่ง เมื่อเทียบกับการผลิตอิฐมอญเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดก๊าซเรือนกระจก
Joint ที่ลดลงทำให้ใช้ปูนซิเมนต์ในการก่อน้อยลง ช่วยลดปัญหาก๊าซ CO2 ในบรรยากาศ
เจ้าของโครงการ (Developer)
งานเสร็จเร็วกว่า ทำให้ขายสินค้า (บ้าน) ได้เร็วกว่า เงินหมุนเวียนเร็วกว่า
เป็นสินค้าที่มีความนิยมแพร่หลาย ทำให้โครงการที่ทำมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มจุดขาย
ลดค่าใช้จ่ายก่อสร้างลง เนื่องจากน้ำหนักโครงสร้างลดลง
ผู้รับเหมา (Contractor)
ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างลง เนื่องจากใช้ Joint น้อยลงกว่า 2.5%
เวลาก่อสร้างเร็วขึ้นกว่า 30% จากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
น้ำหนักเบากว่า ก่อสร้างได้เร็วกว่า ใช้ช่างก่อจำนวนน้อยลง
แข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ
มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามความจำเป็นหน้างาน
ง่ายต่อการก่อสร้าง มีมิติแน่นอน ลดการใช้ปูนฉาบ และปูนก่อลง
เจ้าของบ้าน (Home owner)
อยู่เย็นเป็นสุข เพราะอิฐไทคอน ช่วยลดและดุดซึมเสียง กันความร้อน ทันสมัย ไม่ติดไฟ
ลดค่าไฟฟ้าลงกว่า 30%
ปลวกไม่กิน
ต้นทุนการซ่อมแซมต่ำ
ผู้แทนจำหน่าย (Agent)
สินค้าติดตลาด ง่ายต่อการขาย และทำกำไรได้ง่าย
น้ำหนักเบา ช่วยลดค่าใช้จ่ายขนส่งในการจัดจำหน่ายสู่ลูกค้า
สิ่งแวดล้อม (Environment)
การผลิตไม่มีสารเป็นพิษเจือปน
ไม่ปล่อยก๊าซออกสู่บรรยากาศจากขบวนการผลิต
ใช้พลังงานในการผลิตน้อยลงกว่าครึ่ง เมื่อเทียบกับการผลิตอิฐมอญเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดก๊าซเรือนกระจก
Joint ที่ลดลงทำให้ใช้ปูนซิเมนต์ในการก่อน้อยลง ช่วยลดปัญหาก๊าซ CO2 ในบรรยากาศ
อิบมวลเบาไทยคอน กับการผลิต
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอน
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากอิฐประเภทนี้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมานานกว่า 75 ปี จัดเป็นอิฐประเภท Autoclave Aerated Concrete (AAC) มีคุณสมบัติเด่นในด้านการเพิ่มความคงทนถาวรของโครงสร้าง ด้านการประหยัดพลังงาน และกันความร้อน อิฐมวลเบาไทคอนจึงจัดได้ว่าเป็นอิฐก่อสร้าง ที่มีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง (Today’s green product for tomorrow’s sustainability)
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนมีด้วยกันอยู่ 7 ขั้นตอน ดังมีรายละเอียดในภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมส่วนผสมทรายกับน้ำ
ในขั้นตอนนี้ทรายที่คัดสรรคุณภาพแล้วจะถูกผสมกับยิบซั่มในอัตราส่วนพอเหมาะ ถูกนำไปบดให้ละเอียดด้วยหม้อบดทรายชนิดเปียก (Wet ball mill) โดยใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในการบดละเอียด
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมส่วนผสมระหว่างทรายกับน้ำที่มีค่าความเข้มข้นคงที่
ส่วนผสมระหว่างทรายละเอียดที่ถูกบดแล้วกับน้ำจะถูกลำเลียงเอาไปเก็บไว้ในถังทราย ในขั้นตอนนี้ความเข้มข้นของส่วนประกอบจะถูกควบคุมให้ได้คงที่ตลอดเวลา (Constant sand slurry density) พร้อมกับมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3 การผสมวัตถุดิบ
ปูนขาวและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ถูกลำเลียงมาชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก (weight bin) และถูกลำเลียงไปใส่ในถังผสม ซึ่งจะถูกผสมต่อไปโดยส่วนผสม ระหว่างทรายกับน้ำ และรีเทิร์น (รีเทิร์นเป็นส่วนผสมที่เกิดจากขบวนการตัดในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เนื่องจากยังมีคุณสมบัติด้านการให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์เหลืออยู่ และเนื้อทรายก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีเทิร์นจะถูกควบคุมให้มีความเข้มข้นคงที่ตลอดเวลา มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำกลับมาใช้ผสมใหม่) และส่วนผสมระหว่าง อลูมิเนียมกับน้ำในที่สุด ขบวนการผสมจะถูกควบคุมอุณหภูมิในถังผสมไม่ให้เกินขีดจำกัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ในภายหลังได้
ขั้นตอนที่ 4 การเทส่วนผสมจากถังผสมลงในโมลด์
ส่วนผสมวัตถุดิบทั้ง 5 อย่างดังกล่าว จะถูกเทลงในโมลด์ และถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในห้องบ่มที่มีอุณหภูมิประมาณ 40 ̊C ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในโมลด์ คือ ส่วนผสมจะเริ่มแข็งตัวขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ในขณะเดียวกันจะเกิดการฟูตัวขึ้นเหมือนการอบเค้ก การฟูตัวเกิดจากปฏิกิริยา ระหว่างด่างกับอลูมิเนียมไห้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เรียกว่ากรีนเค้ก (green cake) ฟูเต็มขนาดโมลด์ และเมื่อได้ความแข็งพอเหมาะ จะถูกนำไปตัดได้ในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 การตัด
กรีนเค้กที่ได้หลังจากถูกนำไปถอดโมลด์ออกแล้ว ถูกนำไปตัดด้านข้างทั้ง 4 ด้าน และตัดขนาดของอิฐตามที่ต้องการจากลูกค้าได้เป็นอิฐเขียวไทคอน
ขั้นตอนที่ 6 การทำให้อิฐเขียวแข็งตัว
อิฐเขียวไทคอนที่ได้จากการตัดถูกนำเข้าไปอบในหม้ออบไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 200 ̊C ความดัน 15 บาร์ เป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ในหม้ออบไอน้ำนี้ อิฐเขียวจะแปรรูปเป็นอิฐมวลเบาไทคอนสีขาว จากปฏิกิริยาระหว่างด่างกับทราย เกิดเป็นสารผลึกสีขาว ซึ่งทางเคมีว่าแคลเซียมซิลิเกรต (calcium silicate) ขึ้น
ขั้นตอนที่ 7 การแยกและแพ็ค
อิฐมวลเบาไทคอนที่ผ่านการอบแล้วจะถูกลำเลียงออกมาแยกออกเป็นก้อนๆ และนำไปแพ็คบนพาเลท พร้อมรัดสาย ก่อนนำออกจากโรงงาน ส่งมอบต่อให้ฝ่ายคลังสินค้านำกระจายออกสู่ตลาดต่อไป
อิฐมวลเบาไทคอนถูกผลิตจาก know-how เฉพาะของบริษัท ทำให้ได้อิฐมวลเบาที่มีคุณภาพสูงเกรด G4-G6 ตามมาตรฐานเยอรมันนี เป็นอิฐมวลเบาที่มีการแตกหักเสียหายต่ำ ความแข็งแรงสูง รับแรงกดกระแทกได้สูง และช่วยแก้ปัญหางานก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาได้อย่างแท้จริง
......................................................................................................................
ขอบคุณที่มา :บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากอิฐประเภทนี้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมานานกว่า 75 ปี จัดเป็นอิฐประเภท Autoclave Aerated Concrete (AAC) มีคุณสมบัติเด่นในด้านการเพิ่มความคงทนถาวรของโครงสร้าง ด้านการประหยัดพลังงาน และกันความร้อน อิฐมวลเบาไทคอนจึงจัดได้ว่าเป็นอิฐก่อสร้าง ที่มีส่วนร่วมในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่ง (Today’s green product for tomorrow’s sustainability)
กรรมวิธีการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนมีด้วยกันอยู่ 7 ขั้นตอน ดังมีรายละเอียดในภาพ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมส่วนผสมทรายกับน้ำ
ในขั้นตอนนี้ทรายที่คัดสรรคุณภาพแล้วจะถูกผสมกับยิบซั่มในอัตราส่วนพอเหมาะ ถูกนำไปบดให้ละเอียดด้วยหม้อบดทรายชนิดเปียก (Wet ball mill) โดยใช้น้ำเป็นส่วนประกอบในการบดละเอียด
ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมส่วนผสมระหว่างทรายกับน้ำที่มีค่าความเข้มข้นคงที่
ส่วนผสมระหว่างทรายละเอียดที่ถูกบดแล้วกับน้ำจะถูกลำเลียงเอาไปเก็บไว้ในถังทราย ในขั้นตอนนี้ความเข้มข้นของส่วนประกอบจะถูกควบคุมให้ได้คงที่ตลอดเวลา (Constant sand slurry density) พร้อมกับมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 3 การผสมวัตถุดิบ
ปูนขาวและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ถูกลำเลียงมาชั่งด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก (weight bin) และถูกลำเลียงไปใส่ในถังผสม ซึ่งจะถูกผสมต่อไปโดยส่วนผสม ระหว่างทรายกับน้ำ และรีเทิร์น (รีเทิร์นเป็นส่วนผสมที่เกิดจากขบวนการตัดในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เนื่องจากยังมีคุณสมบัติด้านการให้ความแข็งแรงของปูนซีเมนต์เหลืออยู่ และเนื้อทรายก็สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีเทิร์นจะถูกควบคุมให้มีความเข้มข้นคงที่ตลอดเวลา มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำกลับมาใช้ผสมใหม่) และส่วนผสมระหว่าง อลูมิเนียมกับน้ำในที่สุด ขบวนการผสมจะถูกควบคุมอุณหภูมิในถังผสมไม่ให้เกินขีดจำกัด ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อผลิตภัณฑ์ในภายหลังได้
ขั้นตอนที่ 4 การเทส่วนผสมจากถังผสมลงในโมลด์
ส่วนผสมวัตถุดิบทั้ง 5 อย่างดังกล่าว จะถูกเทลงในโมลด์ และถูกลำเลียงไปเก็บไว้ในห้องบ่มที่มีอุณหภูมิประมาณ 40 ̊C ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในโมลด์ คือ ส่วนผสมจะเริ่มแข็งตัวขึ้น จากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับปูนซีเมนต์ ในขณะเดียวกันจะเกิดการฟูตัวขึ้นเหมือนการอบเค้ก การฟูตัวเกิดจากปฏิกิริยา ระหว่างด่างกับอลูมิเนียมไห้ก๊าซไฮโดรเจนออกมา เมื่อเวลาผ่านไปได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง จะได้ผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่เรียกว่ากรีนเค้ก (green cake) ฟูเต็มขนาดโมลด์ และเมื่อได้ความแข็งพอเหมาะ จะถูกนำไปตัดได้ในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 การตัด
กรีนเค้กที่ได้หลังจากถูกนำไปถอดโมลด์ออกแล้ว ถูกนำไปตัดด้านข้างทั้ง 4 ด้าน และตัดขนาดของอิฐตามที่ต้องการจากลูกค้าได้เป็นอิฐเขียวไทคอน
ขั้นตอนที่ 6 การทำให้อิฐเขียวแข็งตัว
อิฐเขียวไทคอนที่ได้จากการตัดถูกนำเข้าไปอบในหม้ออบไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 200 ̊C ความดัน 15 บาร์ เป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ในหม้ออบไอน้ำนี้ อิฐเขียวจะแปรรูปเป็นอิฐมวลเบาไทคอนสีขาว จากปฏิกิริยาระหว่างด่างกับทราย เกิดเป็นสารผลึกสีขาว ซึ่งทางเคมีว่าแคลเซียมซิลิเกรต (calcium silicate) ขึ้น
ขั้นตอนที่ 7 การแยกและแพ็ค
อิฐมวลเบาไทคอนที่ผ่านการอบแล้วจะถูกลำเลียงออกมาแยกออกเป็นก้อนๆ และนำไปแพ็คบนพาเลท พร้อมรัดสาย ก่อนนำออกจากโรงงาน ส่งมอบต่อให้ฝ่ายคลังสินค้านำกระจายออกสู่ตลาดต่อไป
อิฐมวลเบาไทคอนถูกผลิตจาก know-how เฉพาะของบริษัท ทำให้ได้อิฐมวลเบาที่มีคุณภาพสูงเกรด G4-G6 ตามมาตรฐานเยอรมันนี เป็นอิฐมวลเบาที่มีการแตกหักเสียหายต่ำ ความแข็งแรงสูง รับแรงกดกระแทกได้สูง และช่วยแก้ปัญหางานก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาได้อย่างแท้จริง
......................................................................................................................
ขอบคุณที่มา :บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558
เกร็ดความรู้อิฐมวลเบาไทยคอน
ถาม :
วัตถุดิบตัวหนึ่งในการผลิตอิฐมวลเบาไทคอนคือยิปซั่ม อยากทราบว่ายิปซั่มใส่ไปเพื่ออะไร? และปลวกกินยิปซั่มหรือไม่?
ตอบ :
วัตถุดิบที่เป็นยิปซั่มเป็นตัวหน่วงในการทำปฏิกิริยาในช่วงแรกไม่ให้ปูนซีเมนต์เซ็ทตัวเร็วจนเกินไปในขณะเดียวกันก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เซ็ทตัวเมื่อมีความร้อนจากปูนขาวหลังจากเค้กฟูตัวแล้ว และปลวกจะไม่กินเพราะยิปซั่มเกิดการทำปฏิกิริยาเรียบร้อยแล้ว
ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนจะถูกออกซิไดซ์หรือไม่ถ้าใช้ไปนานๆ?
ตอบ :
เมื่อเราใช้ไปนานๆอิฐมวลเบาไทคอน จะไม่ถูกออกซิไดซ์เพราะเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีในตัววัสดุเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วในกระบวนการผลิต และมีอายุการใช้งานมากกว่า50ปี
ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนได้รับตราสินค้าฉลากเขียวหรือไม่?
ตอบ :
สินค้าที่ได้รับรองเรื่องฉลากเขียวต้องเป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบและกระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนถึงการทิ้งทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ไม่ได้รับการรับรอง
ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนซูเปอร์โปรและอิฐมวลเบาไทคอนสปีดแตกต่างกันอย่างไร? และมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ :
มีความแตกต่างที่ขนาดความกว้าง อิฐไทคอนซูเปอร์โปรมีขนาดกว้าง 20 ยาว 60 เซนติเมตร แต่อิฐ ไทคอนสปีดจะมีขนาดกว้าง 25-30 ยาว 60 เซนติเมตร ถ้าเลือกใช้อิฐไทคอนสปีดการทำงานก่อจะก่อได้เร็วกว่าประหยัดปูนก่อ ประหยัดค่าแรง เพราะช่างจะทำงานก่อได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาการทำงานต่อวัน
ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนแตกต่างกว่าอิฐมวลเบายี่ห้ออื่นในตลาดอย่างไร?
ตอบ :
อิฐมวลเบาไทคอนเป็นอิฐมวลเบาคุณภาพมาตรฐานG4 เป็นมาตรฐานสูงสุดที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย และเป็นอิฐมวลเบาระบบอบไอน้ำแรงดันที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม อิฐมวลเบาไทคอนมีความแข็งแรงสูง แตกหักเสียหายน้อยระหว่างการขนส่งหรือระหว่างลำเลียงไปใช้งาน ยึดเกาะตะปูได้เหนียวแน่นกว่า
ถาม :
ปริมาณการใช้อิฐมวลเบาไทคอนคำนวณได้อย่างไร?
ตอบ :
ในการคำนวณหาพื้นที่ของผนังต้องใช้แบบแปลน, รูปด้าน, รูปตัด, รายละเอียดประตูหน้าต่างประกอบในการคำนวณหาพื้นที่ แบบแปลนเพื่อดูสัญลักษณ์กำหนดชนิดของผนังและความกว้างของผนัง แบบรูปตัดเพื่อดูความสูงของผนังในแต่ละชั้นของอาคาร แบบรูปด้านเพื่อดูว่าผนังมีประตูหน้าต่างแบบไหนใช้ตัวเลขความกว้างคูณด้วยความสูงของผนังจะออกมาเป็นพื้นที่ตารางเมตร ถ้าผนังมีประตูหรือหน้าต่างดูแบบรายละเอียดประตูหน้าต่างคำนวณพื้นที่ประตูหน้าต่างแล้วนำมาลบออกจากพื้นที่ผนังทั้งหมดจะได้พื้นที่ผนังจริงถ้าต้องการคิดเป็นจำนวนก้อนอิฐให้นำพื้นที่เป็นตารางเมตร คูณด้วย 8.33 จะได้เป็นจำนวนก้อนอิฐมวลเบาไทคอนซูเปอร์โปร
ถาม :
อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ก่อฉาบอิฐมวลเบาไทคอนมีอะไรบ้าง? หาซื้อได้ที่ไหน?
ตอบ :
เครื่องมือสำหรับก่ออิฐมวลเบาไทคอนมีเกรียงก่อ, หัวปั่นปูน, เลื่อยคาร์ไบด์, ค้อนยาว, เหล็กขูดเซาะร่อง, เกรียงฟันปลา, เหล็กเมทัลสแต๊ป ส่วนเครื่องมือฉาบมีกระบะถือปูน, เกรียงไม้, สามเหลี่ยมปาดปูน, แปรงสลัดน้ำ, ไม้กวาดดอกหญ้า เครื่องมือฉาบหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างชั้นนำทั่วไป
ถาม :
หาซื้ออิฐมวลเบาไทคอนได้ที่ไหน? ราคาเท่าไหร่?
ตอบ :
หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างชั้นนำ ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายอิฐมวลเบาไทคอนที่อยู่ใกล้ในเขตพื้นที่ของโครงการนั้นๆ หรือโทร.02-988-5559 ซึ่งสามารถสอบถามได้จากตัวแทนจำหน่าย หรือผู้ให้คำแนะนำการขายของบริษัทฯ ส่วนเรื่องราคาขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งาน ระยะทางการจัดส่ง โปรโมชั่นในช่วงนั้น และเงื่อนไขการชำระเงิน
ถาม :
อิฐมวลเบาไทคอนถ้า ก่อแล้วฉาบด้านเดียวกันน้ำได้หรือไม่?
ตอบ :
เหมือนอิฐก่อสร้างประเภทอื่น ผนังอิฐมวลเบาไทคอนถ้าฉาบด้านเดียวจะไม่สามารถกันความชื้นและน้ำได้เนื่องจากเนื้อของวัสดุเป็นลักษณะพรุนเมื่อมีน้ำหรือความชื้นสัมผัสโดยตรงจะดูดเก็บความชื้นไว้ในตัวผนัง ทำให้มีผลกระทบเรื่องความชื้นกับผนังที่ฉาบ
ถาม :
อิฐมอญกับอิฐมวลเบาไทคอนวัสดุตัวไหนยึดเกาะตะปูได้ดีกว่ากัน? การเจาะรูแขวนรูปภาพทำอย่างไรจึงจะถูกวิธี?
ตอบ :
การยึดเกาะตะปูที่ตอกลงผนังอิฐมอญจะดีกว่าอิฐมวลเบาไทคอนเพราะผนังอิฐมอญมีความหนาแน่นสูงกว่า แต่ถ้าต้องการจะเจาะแขวนรูปภาพหรือสิ่งของต่างๆนั้นจะมีพลุ๊กสำหรับอิฐมวลเบาไทคอนโดยเฉพาะเป็นพลุ๊กเหล็กFischer FMD เทคนิคการติดตั้งต้องดูว่าน้ำหนักของวัสดุที่จะแขวนมีน้ำหนักเท่าไหร่ต้องใช้พลุ๊กเบอร์อะไร และจำนวนในการเจาะยึดทั้งหมดกี่จุดก็จะสามารถแขวนสิ่งของต่างๆได้
ถาม :
บ้านโดนน้ำท่วมเปลี่ยนวอลเปเปอร์แล้วเกิดเชื้อราขึ้นมา บ้านใช้อิฐมวลเบาในการก่อสร้าง จะมีการป้องกันเชื้อราไม่ให้เกิดขึ้นอีกทำได้อย่างไร?
ตอบ :
ผนังอาคารปูวอลเปเปอร์ที่มีการแช่น้ำเป็นเวลานานๆจะเกิดการพองหลุดร่อนและเป็นเชื้อรา หลังจากน้ำลดต้องทำการซ่อมแซมวอลเปเปอร์ใหม่ การซ่อมแซมให้ซ่อมแซมใหม่ทั้งชั้นอย่าซ่อมแซมเฉพาะบางจุดเพราะสีของวอลเปเปอร์จะไม่เหมือนกันควรลอกกระดาษตัวเก่าออกให้หมดเพื่อเป็นการผึ่งผนังปูนที่อมน้ำไว้ได้คายน้ำให้ระเหยออกมาให้หมดถ้าไม่ลอกออกผนังจะคายความชื้นได้ช้า ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง-2 เดือนจนกว่าความชื้นจะออกหมด โดยมีวิธีการตรวจสอบง่ายๆคือเอาแผ่นพลาสติกใสขนาด 50x50 เซนติเมตร แปะบนผนังและติดเทปกาวโดยรอบ สังเกตดูว่าถ้าไม่เกิดไอน้ำเกาะที่พลาสติกแสดงว่าความชื้นหมดแล้วจึงทำการปูวอลเปเปอร์ใหม่ได้ จะไม่เกิดปัญหาเชื้อราขึ้นอีก หรือทาด้วยสารป้องกันความชื้นก่อนปูวอลเปเปอร์ทับ
ถาม :
ผนังบ้านเป็นอิฐมวลเบา พบว่าสีเกิดการล่อนออกมาตลอด ทาสีทับใหม่อยู่ได้ไม่นานก็เป็นอีก เป็นเพราะอะไร? จะแก้ไขอย่างไร?
ตอบ :
สาเหตุเกิดจากความชื้นหลังการฉาบปูน ก่อให้เกิดปัญหาสีปูดบวมพอง พื้นผิวก่อนทาสีควรมีความชื้นไม่เกิน 17% ซึ่งความชื้นระดับนี้ไม่มีผลต่อฟิล์มสี หากพื้นผนังมีความชื้นสูงเมื่อได้รับความร้อนความชื้นก็จะเคลื่อนตัวระเหยออกจากผนังเป็นเหตุให้ฟิล์มสีปูดบวมพองและหลุดร่อน แก้ไขโดยการลอกฟิล์มสีที่ปูดพองออกให้หมด ล้างทำความสะอาดปล่อยให้พื้นผิวแห้งสนิท ทาน้ำยารองพื้นปูนทับสีเก่าจำนวน 1 เที่ยวก่อนทาสีทับหน้าตามปกติ ปัญหาสีหลุดร่อนก็จะหมดไป
ถาม :
จำเป็นต้องใช้คานทับหลังในการก่อผนังอิฐมวลเบาหรือไม่?
ตอบ :
ตามมาตรฐานการก่อผนังอิฐมวลเบาที่กำหนดไว้ ผนังสามารถก่อได้สูงสุดที่ 3 เมตรถ้าความสูงของผนังที่ก่อไม่เกิน 3 เมตร ไม่ต้องเทคานทับหลัง แต่ถ้าผนังก่อสูงเกิน 3 เมตร จะต้องทำการเทหล่อคานทับหลังที่ระดับความสูงครึ่งหนึ่งของผนังนั้นเพื่อความแข็งแรง
ถาม :
อิฐมวลเบาเปียกฝนใช้นำมาก่อได้เลยหรือไม่? วิธีการใช้งานที่ถูกวิธีทำอย่างไร?
ตอบ :
สามารถนำอิฐมวลเบาที่เปียกฝนมาใช้งานได้เลย แต่ควรนำอิฐที่เปียกมาก่อในส่วนของผนังภายนอกอาคารและใช้อิฐที่ไม่เปียกฝนก่อผนังภายใน เพราะอิฐที่เปียกฝนจะมีความชื้นสูงถ้าใช้ก่อภายในอาคารอากาศไม่ถ่ายเทความชื้นออก แต่ถ้าใช้ก่อผนังภายนอกเมื่อโดนแสงแดดก็จะช่วยไล่ความชื้นให้ออกเร็วกว่าปกติ
ถาม :
มือใหม่หัดใช้อิฐมวลเบาต้องทำอย่างไร?
ตอบ :
กรุณาติดต่อมาที่บริษัทฯ เรามีช่างเทคนิคที่จะอบรมสาธิตขั้นตอนการทำงานก่อ และงานฉาบให้กับทางช่างเพื่อให้ช่างมือใหม่ได้เข้าใจเทคนิคและขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติตาม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำเมื่อเกิดปัญหาหลังการใช้งาน งานก่อฉาบก็จะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
ถาม :
ผนังก่อด้วยอิฐมวลเบามักจะมีรอยร้าวเป็นเพราะอะไร? ป้องกันได้อย่างไร?
ตอบ :
รอยร้าวโดยส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับผนังอิฐมวลเบามีสาเหตุ 3 ประเด็นหลักคือ
เกิดจากการก่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ลักษณะการแตกจะแตกเป็นเส้นตรงแนวนอนหรือแนวทแยง เพราะการก่อปูนก่อไม่เต็มหน้าอิฐ เวลาโครงสร้างขยับตัวจึงเกิดรอยแตกร้าวตามรอยต่อ การป้องกันต้องก่อให้ปูนก่อเต็มหน้าอิฐทั้ง 4 ด้าน
เกิดจากการตีน้ำปั่นหน้าปูนเร็วเกินไปทำให้เกิดการแตกลายงาเพราะผิวหน้าของปูนฉาบยังไม่เซ็ทตัวดีการป้องกันต้องรอให้ปูนฉาบเซ็ทตัวจนกดไม่ลงก่อนถึงจะทำการตีน้ำปั่นหน้าปูนได้
เกิดจากการฉาบหนาเกินไป ส่วนใหญ่จะเกิดกับการฉาบผนังภายนอกอาคารเพราะต้องฉาบเผื่องานโครงสร้าง การแตกจะเป็นลักษณะแตกร้าวและร่อน การป้องกันถ้าฉาบหนาเกิน 1.5 เซนติเมตรให้ทำการฉาบ 2 ครั้ง แบ่งฉาบให้ปูนฉาบเซ็ทตัวทีละชั้น การยุบตัวจะน้อยลง ฉาบครั้งแรกทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน และทำการฉาบทับหน้าอีกครั้งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวได้เป็นอย่างดี
ถาม :
การกองเก็บอิฐมวลเบาไทคอนที่ถูกวิธีทำอย่างไร?
ตอบ :
ควรจัดเรียงอิฐมวลเบาไทคอนไว้บนแผงรองรับที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดการแตกบิ่นเสียหายที่อาจมีผลต่อการใช้งานและเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกแต่ถ้าการกรองเก็บไม่มีแผงรองรับควรปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนวางกองจะเกิดการเสียหายน้อยที่สุด จากน้ำหนักอิฐก้อนบนที่ทับลงมา
...........................................................................................
ขอบคุณที่มา: บริษัท ไทยไลท์บล๊อคแอนด์แพเนล จำกัด
วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)